ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กศน.ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์จังหวัดนครพนม หมายเลขโทรศัพท์ 0849523264

วันอาทิตย์ที่ 12 กันยายน พ.ศ. 2564

ชื่อผลงาน เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐

 

 

 

 

 

รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (BEST PRACTICE)

ชื่อผลงาน

เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ 

ร้อยละ ๑๐๐

                                          

 

 

 

 

 

 

 


                                  

                           

                                     จัดทำโดย

ว่าที่ร้อยเอกจหมื่นโซติ  พิทักษ์แดนสยาม ครู กศน.ตำบลบ้านค้อ

 

 

 

 

 

 

คำนำ

เอกสารเล่มนี้จัดทำขึ้นเพื่อเสนอผลงานการปฏิบัติที่เป็นเลิศ Best Practice : เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐ ซึ่งผู้จัดทำได้เสนอข้อมูลผลงานจากการปฏิบัติหน้าที่จัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐานพุทธศักราช 2551 ภาคเรียนที่ ๑ปีการศึกษา 256๔ ที่นักศึกษาทุกคนจะต้องได้เข้าร่วมกิจกรรมในภาคเรียนสุดท้ายก่อนที่จะจบหลักสูตร มีเนื้อหาประกอบด้วย ชื่อผลงาน 1) ชื่อผลงาน 2) ความสำคัญของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ 3) วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน 4) วิธีการดำเนินงาน  5) ผลการดำเนินงาน 6) ประโยชน์ที่ได้รับ 7) การเผยแพร่ผลงาน และ 8) ภาคผนวก

ขอขอบคุณ ผู้บริหาร ข้าราชการ คณะครู บุคลากร กศน.อำเภอโพนสวรรค์ ที่ให้การสนับสนุน ให้คำปรึกษา แนะนำ ช่วยเหลือ ตลอดจนผู้เรียนทุกคนที่ให้ความร่วมมือในการปฏิบัติงานด้วยดีตลอดมา และหวังเป็นอย่างยิ่งว่าเอกสารเล่มนี้จะเป็นประโยชน์ต่อผู้ที่สนใจนำข้อมูลเป็นแนวทางเพื่อปรับใช้ในการปฏิบัติงานไม่มากก็น้อย หากมีข้อผิดพลาดประการใด ผู้จัดทำต้องขออภัยมา ณ โอกาสนี้

 

 

                                                               ว่าที่ ร.อ.จหมื่นโซติ พิทักษ์แดนสยาม

           ครู กศน.ตำบลบ้านค้อ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

                                               สารบัญ

เรื่อง                                                                                          หน้า

คำนำ                                                                                         

สารบัญ                                                                                            

ชื่อผลงาน                                                                                      1

ความสำคัญของวิธีปฏิบัติงานที่ดี                                                     1

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดาเนินงาน                                 2

วิธีการดำเนินงาน                                                                             3

ผลการดำเนินงาน                                                                             5

ประโยชน์ที่ได้รับ                                                                              6

การเผยแพร่ผลงาน                                                                           7

ภาคผนวก                                                                                         9

- รูปภาพการจัดกิจกรรม

- แผนการดำเนินงาน

- โครงการ

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ชื่อผลงาน

เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐

 

ความสำคัญของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ

พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) .. 2545 มาตรา 15 กำหนดนิยามการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงเป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์จากการทางานและการประกอบอาชีพ โดยกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจ ให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน และสอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยึดปรัชญาคิดเป็นมาใช้ในการจัดการศึกษา ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคน มีจุดรวมของความต้องการที่เหมือนกัน คือทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเรา ความรู้ทางวิชาการ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผสมกลมกลืนกันได้ก็จะมีความสุข คิดแบบพอเพียง พอประมาณ ไม่มากไม่น้อย เป็นทาง สายกลาง สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาคิดเป็นมีผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยครูจะเป็นเพียงผู้จัดโอกาส กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ ปัญหาหรือความต้องการ มีการเรียนรู้จากข้อมูลจริงและตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลตนเอง วิชาการ ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสามารถทาให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง ถ้ายังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ ก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง กระบวนการนี้ก็จะยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข โดยกำหนดหลักการไว้ดังนี้ 1) เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างระหว่างบุคคล และชุมชน สังคม 2) ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 4) ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร ดังนี้ 1) ผ่านการประเมินและได้รับผลการตัดสินการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ และได้ตามจำนวนหน่วยกิตที่กำหนดตามโครงสร้างหลักสูตร 2) ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง 3) ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม 4) เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET) จากผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551     ที่ผ่านมา พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่จบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด 4 ภาคเรียน และจากการรายงานข้อมูลจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม ในแต่ละภาคเรียน มีจานวนผู้เข้าสอบไม่ถึงร้อยละ 80 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้นักศึกษาไม่จบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด จากสภาพปัญหาดังกล่าว

 

 

 

2

 

กศน.ตำบลบ้านค้อ ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นเชิงรุกเพื่อเข้าติดตามผู้เรียน โดยเฉพาะผู้เรียนที่คาดว่าจะจบหลักสูตรในแต่ละภาคเรียน ซึ่งมีผลปรากฏชัดเจนในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๔ คือนักศึกษา กศน.ตำบลบ้านค้อ ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจำนวนผู้เข้าร่วมกิจกรรม คิดเป็นร้อยละ ๑๐๐ ดังนั้น กศน.ตำบลบ้านค้อ จึงได้จัดทำแผนงาน/โครงการ และจัดกิจกรรม ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๔ เพื่อเป็นการการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐  และส่งผลต่อการจบหลักสูตรของผู้เรียนต่อไป

 

วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดำเนินงาน

วัตถุประสงค์

1. เพื่อให้ผู้เรียนจบตามเกณฑ์ที่วางไว้ของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กศน.ตำบลบ้านค้อ ให้ได้ร้อยละ ๑๐๐

2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดภายในระยะเวลา 4 ภาคเรียน

เป้าหมาย

1. นักศึกษา กศน.ตำบลบ้านค้อ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่คาดว่าจะจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๔ เข้าร่วมกิจกรรมทุกคน

2. นักศึกษา กศน.ตำบลบ้านค้อ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดภายในระยะเวลา 4 ภาคเรียน เพิ่มมากขึ้น

 

วิธีการดำเนินงาน

กศน.ตำบลบ้านค้อ ได้วางแผนงาน/โครงการ และออกแบบกิจกรรมผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้   ร้อยละ ๑๐๐ โดยมีวิธีการดำเนินงาน ดังนี้

 

แผนภูมิการดำเนินงาน : ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐

 

ปัจจัยนาเข้า

 

1. ศึกษาเป้าหมาย และเกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551

2. ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย (นักศึกษาที่คาดว่าจะจบหลักสูตร ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256)

 

กระบวนการ

1. วางแผนงาน /จัดทาโครงการพัฒนาการจัดกิจกรรม /ออกแบบกิจกรรม

2. จัดกิจกรรมตามโครงการ

- กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักศึกษา

- กิจกรรมแนะแนวการสอบ N-NET

- กิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น

- กิจกรรมแจกตารางสอบถึงมือนักศึกษาและผู้ปกครอง

 

 

ผลผลิต

ร้อยละผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐

ผลลัพธ์

๑.      นักศึกษาจบหลักสูตรตามเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น

 

ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดาเนินงาน

ขั้นตอนการดาเนินงาน

ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวางแผนการดำเนินงานโครงการ จัดทำโครงการ ออกแบบกิจกรรมรักษาระดับร้อยละผู้ผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐  และเสนอผู้บริหารอนุมัติ

ขั้นตอนที่ 2 จัดกิจกรรมผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐  ที่ต้องดำเนินการ ดังนี้

กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักศึกษา มีวิธีการดำเนินงานดังนี้

1) ครูกำหนดแผนการเยี่ยมบ้าน

2) ครูศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง และข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวผู้เรียน

3) วิเคราะห์ข้อมูลว่าสมาชิกในครอบครัวของนักศึกษาแต่ละคนมีใครบ้างที่สามารถให้ข้อมูลในการเยี่ยมบ้านได้

4) เตรียมความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือติดตามผู้เรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน/ผู้ปกครอง แบบสังเกต และประเด็นการสัมภาษณ์และการสนทนา

5) ออกเยี่ยมบ้านตามแผน (หากไม่พบผู้เรียน ผู้ปกครอง และคนในครอบครัว ให้สอบถามเพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเคียง และจัดทาแผนออกไปเยี่ยมบ้านอีกครั้ง หรือประสานเพื่อนัดหมายกับผู้เรียนและผู้ปกครองก่อนล่วงหน้า)

6) สังเกตสภาพที่อยู่อาศัย พฤติกรรมของนักศึกษา และบุคคลในครอบครัว

7) พูดคุยสนทนา สัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง

8) รวบรวมข้อมูลนักศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล หากมีปัญหาให้หาแนวทางในการช่วยเหลือดูแลผู้เรียนต่อไป พร้อมทั้งติดต่อผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และแจ้งให้มาร่วมกิจกรรมอยู่เสมอ

 

กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแนะแนวการสอบ N-NET

-          ครูจัดกิจกรรมแนะแนวการสอบ N-NET จำนวน 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม 1 ครั้ง และเดือนกุมภาพันธ์ 1 ครั้ง ก่อนถึงวันสอบ โดยมีเนื้อหาที่ต้องแนะแนว ดังนี้

ครั้งที่ 1 การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการเข้าร่วมกิจกรรม

-           ครูบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียนถึงเหตุผลความจำเป็นในการเข้าร่วมกิจกรรม และการขาดเข้าร่วมกิจกรรม มีผลกระทบต่อนักศึกษา ครู และสถานศึกษาอย่างไร

ครั้งที่ 2 การเตรียมความพร้อมและปฏิบัติตนในการเข้าสอบ N-NET

- ครูแจ้งวันสอบ รายวิชา ระยะเวลาในการสอบ และชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเข้าสอบ      N-NET ได้แก่ ระเบียบการสอบ การแต่งกาย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนามาและใช้ในวันสอบ

- ครูให้ผู้เรียนฝึกการฝนกระดาษคาตอบ เพื่อให้มีความแม่นยา และลดความผิดพลาดในการฝนกระดาษคาตอบ

 

 

 

 

 

กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น

-          ครูจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น โดยแจ้งกำหนดการสอบ และการเตรียมความพร้อม ในการสอบเข้าสอบให้แก่นักศึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น Line และ Messenger

 

กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแจกตารางสอบถึงมือนักศึกษาและผู้ปกครอง

- ครูแจกตารางสอบให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองโดยตรงถึงบ้าน เพื่อติดตามผู้เรียนอีกครั้งว่าติดภารกิจหรือมีเหตุจาเป็นต้องทำอะไรในช่วงสอบ สามารถมาสอบในวันที่กำหนดได้หรือไม่ อย่างไร

- หากผู้เรียนมีภารกิจหรือมีเหตุจาเป็นที่จะทาให้เสี่ยงต่อการขาดสอบ ครูต้องหาวิธีการช่วยเหลือ     ให้คำปรึกษา แนะนากับผู้เรียนและผู้ปกครอง จนทำให้มาสอบได้ตามกำหนด

 

ผลการดำเนินงาน

ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256

ตารางแสดงข้อมูลผู้เข้าร่วมกิจกรรมที่จะจบ ภาคเรียน ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๔ กศน.ตำบลบ้านค้อ

ลำดับ

ระดับการศึกษา

ชื่อ สกุล

ผลการเข้าร่วมกิจกรรม

โครงการส่งเสริมการใช้แอพพลิเคชั่น

GooGle classroom

เข้าร่วม

ไม่เข้า

1

มัธยมศึกษาตอนต้น

ไพฑูลย์ สาโท

P

 

2

มัธยมศึกษาตอนต้น

วรเชษฐ์  ลาชัย

P

 

3

มัธยมศึกษาตอนต้น

ธีรภัทร มันอินทร์

P

 

4

มัธยมศึกษาตอนต้น

มินทดา นิที

P

 

5

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ธนพล อนุญาหงษ์

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ทิพยดา เงางาม

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สินิษทรา  ฤทธิ์ฤาวงค์

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สิริญญา  อนุญาหงษ์   

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

อัจฉรา อนุญาหงษ์   

P

 

คิดเป็นร้อยละ

100

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ลำดับ

ระดับการศึกษา

ชื่อ สกุล

ผลการเข้าร่วมกิจกรรม

โครงการส่งเสริมป้องกันการแพร่ระบาดโรคติดต่อไวรัสโคโรน่า

เข้าร่วม

ไม่เข้า

1

มัธยมศึกษาตอนต้น

ไพฑูลย์ สาโท

P

 

2

มัธยมศึกษาตอนต้น

วรเชษฐ์  ลาชัย

P

 

3

มัธยมศึกษาตอนต้น

ธีรภัทร มันอินทร์

P

 

4

มัธยมศึกษาตอนต้น

มินทดา นิที

P

 

5

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ธนพล อนุญาหงษ์

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ทิพยดา เงางาม

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สินิษทรา  ฤทธิ์ฤาวงค์

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สิริญญา  อนุญาหงษ์   

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

อัจฉรา อนุญาหงษ์   

P

 

คิดเป็นร้อยละ

100

 

 

ลำดับ

ระดับการศึกษา

ชื่อ สกุล

ผลการเข้าร่วมกิจกรรม

โครงการดิจิทัล

เข้าร่วม

ไม่เข้า

1

มัธยมศึกษาตอนต้น

ไพฑูลย์ สาโท

P

 

2

มัธยมศึกษาตอนต้น

วรเชษฐ์  ลาชัย

P

 

3

มัธยมศึกษาตอนต้น

ธีรภัทร มันอินทร์

P

 

4

มัธยมศึกษาตอนต้น

มินทดา นิที

P

 

5

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ธนพล อนุญาหงษ์

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

ทิพยดา เงางาม

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สินิษทรา  ฤทธิ์ฤาวงค์

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

สิริญญา  อนุญาหงษ์   

P

 

มัธยมศึกษาตอนปลาย

อัจฉรา อนุญาหงษ์   

P

 

คิดเป็นร้อยละ

100

 

 

สรุปผลการดำเนินงาน

จากผลการดำเนินงานปรากฏว่า ร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ของ กศน.ตำบลบ้านค้อ ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๔ มีจำนวนผู้ที่จบภาคเรียนนี้มีจำนวน ๙ คน และเข้าร่วมกิจกรรม จำนวน ๙ คน คิดเป็นร้อย ๑๐๐  จึงถือว่าการดำเนินงานในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว

 

ประโยชน์ที่ได้รับ

ประโยชน์ต่อครู

1. ครูได้พัฒนาตนเองด้านทักษะในการออกแบบกิจกรรม เพื่อนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาร้อยละผู้เข้าร่วมกิจกรรม และผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนของนักศึกษาต่อไป

2. ครูเกิดแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน และเกิดความภาคภูมิใจ ในตนเองที่สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย

3. ครูและผู้เรียนเกิดความรักความเข้าใจกันมากขึ้น มีความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น ทาให้เกิดความไว้วางใจ ผู้เรียนกล้าพูด กล้าแสดงออก และเข้ามาปรึกษาครูเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา และด้านการประกอบอาชีพ

4. ครูได้รับความร่วมมือจากผู้เรียนและผู้ปกครองในการเข้าร่วมกิจกรรมของ กศน.ตำบล เพิ่มมากขึ้น

 

ประโยชน์ต่อผู้เรียน

1. ผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือจากครู ในการให้คำปรึกษาแนะแนวด้านการศึกษา ทำให้มีโอกาสสูงที่จะจบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี 4 ภาคเรียน และสามารถนำวุฒิการศึกษาจากการจบหลักสูตรไปสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถนำวุฒิการศึกษาไปใช้ในการประกอบอาชีพในสถานประกอบการได้กับความต้องการ

2. ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อครู เห็นถึงความตั้งใจในการทางานของครู ทำให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้เรียนกับครู

3. ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เทคโนโลยี สามารถนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการติดต่อสื่อสารกับครู เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเกิดประโยชน์กับตนเองเพิ่มมากขึ้น

4. ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ และความเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากขึ้น

 

ประโยชน์ต่อสถานศึกษา

1. สถานศึกษามีจานวนร้อยละผู้จบการศึกษามีระดับที่สูงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการดำเนินงาน และแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา เพื่อมุ่งไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด

2. สถานศึกษาได้ครูที่มีคุณภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย

3. สถานศึกษาได้เทคนิค/วิธีการ ที่เป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมของครูภายในสถานศึกษา และสามารถเผยแพร่เพื่อให้ครูต่างอำเภอ ใช้เป็นแนวทางในการติดตามผู้เรียนให้เข้าร่วมกิจกรรม มากยิ่งขึ้น

 

ประโยชน์ต่อชุมชน สังคม

1. ชุมชนได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น

2. ผู้เรียนที่จบหลักสูตรไปถือเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของชุมชน ซึ่งจะเป็นกาลังสำคัญในการช่วยพัฒนาให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และเจริญก้าวหน้าต่อไปได้

 

 

การเผยแพร่ผลงาน

กศน.ตำบลบ้านค้อ มีการเผยแพร่รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน : เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐     ผ่านเฟซบุ๊คของ กศน.ตำบลบ้านค้อ  https://www.facebook.com/nfebankor เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูผู้ที่สนใจนำไปปรับใช้ในการจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

ภาคผนวก

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปภาพการจัดกิจกรรม

เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐

 


 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

รูปภาพการจัดกิจกรรม

เทคนิคการติดตามผู้เรียนเข้าร่วมกิจกรรมให้ได้ ร้อยละ ๑๐๐


 

  

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

 

-          เผยแพร่ผลงานผ่านช่องทาง

https://web.facebook.com/nfebankor