ยินดีต้อนรับเข้าสู่เว็บไซต์ กศน.ตำบลบ้านค้อ อำเภอโพนสวรรค์จังหวัดนครพนม หมายเลขโทรศัพท์ 0849523264

วันอาทิตย์ที่ 22 มีนาคม พ.ศ. 2563



ชื่อผลงาน
การรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ โดยใช้กิจกรรม
ความสำคัญของวิธีปฏิบัติที่เป็นเลิศ
พระราชบัญญัติการศึกษาแห่งชาติ พ.. 2542 และแก้ไขเพิ่มเติม(ฉบับที่ 2) .. 2545 มาตรา 15 กำหนดนิยามการศึกษานอกระบบ เป็นการศึกษาที่มีความยืดหยุ่นในการกำหนดจุดมุ่งหมาย รูปแบบ วิธีการจัดการศึกษา ระยะเวลา ของการศึกษา การวัดและประเมินผล ซึ่งเป็นเงื่อนสำคัญของการสำเร็จการศึกษา โดยเนื้อหาและหลักสูตรจะต้องมีความเหมาะสม สอดคล้องกับสภาพปัญหาและความต้องการของบุคคลแต่ละกลุ่มเป้าหมาย ดังนั้นหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 จึงเป็นหลักสูตรที่มีความเหมาะสมสอดคล้องกับสภาพปัญหา และความต้องการของบุคคลที่อยู่นอกโรงเรียน ซึ่งเป็นผู้มีความรู้และประสบการณ์จากการทางานและการประกอบอาชีพ โดยกำหนดสาระการเรียนรู้ มาตรฐานการเรียนรู้ การจัดการเรียนรู้ การวัดและประเมินผล ให้ความสำคัญกับการพัฒนากลุ่มเป้าหมายด้านจิตใจ ให้มีคุณธรรมควบคู่ไปกับการพัฒนาการเรียนรู้ สร้างภูมิคุ้มกัน สามารถจัดการกับองค์ความรู้ ทั้งภูมิปัญญาท้องถิ่น และเทคโนโลยี เพื่อให้ผู้เรียนสามารถปรับตัวอยู่ในสังคมที่มีการเปลี่ยนแปลงอยู่ตลอดเวลา สร้างภูมิคุ้มกันตามแนวปรัชญาของเศรษฐกิจพอเพียงรวมทั้งคำนึงถึงธรรมชาติการเรียนรู้ของผู้เรียน ที่อยู่นอกระบบโรงเรียน และสอดคล้องกับสภาพ เศรษฐกิจ สังคม การเมือง การปกครอง ความเจริญก้าวหน้าของเทคโนโลยีและการสื่อสาร

หลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ยึดปรัชญาคิดเป็นมาใช้ในการจัดการศึกษา ซึ่งอยู่บนพื้นฐานความคิดที่ว่า ความต้องการของแต่ละบุคคลไม่เหมือนกัน แต่ทุกคน มีจุดรวมของความต้องการที่เหมือนกัน คือทุกคนต้องการความสุข คนเราจะมีความสุขเมื่อตัวเรา ความรู้ทางวิชาการ สังคมและสิ่งแวดล้อม ผสมกลมกลืนกันได้ก็จะมีความสุข คิดแบบพอเพียง พอประมาณ ไม่มากไม่น้อย เป็นทาง สายกลาง สามารถอธิบายได้ด้วยเหตุผล การจัดกระบวนการเรียนรู้ตามปรัชญาคิดเป็นมีผู้เรียนสำคัญที่สุด โดยครูจะเป็นเพียงผู้จัดโอกาส กระตุ้นให้ผู้เรียนคิด วิเคราะห์ ปัญหาหรือความต้องการ มีการเรียนรู้จากข้อมูลจริงและตัดสินใจบนฐานข้อมูลที่เพียงพอและเชื่อถือได้ คือ ข้อมูลตนเอง วิชาการ ชุมชน สังคมและสิ่งแวดล้อม ถ้าหากสามารถทาให้ปัญหาหายไป กระบวนการก็ยุติลง ถ้ายังไม่พอใจแสดงว่ายังมีปัญหาอยู่ ก็จะเริ่มกระบวนการพิจารณาทางเลือกใหม่อีกครั้ง กระบวนการนี้ก็จะยุติลงเมื่อบุคคลพอใจและมีความสุข โดยกำหนดหลักการไว้ดังนี้ 1) เป็นหลักสูตรที่มีโครงสร้างยืดหยุ่นด้านสาระการเรียนรู้ เวลาเรียน และการจัดการเรียนรู้โดยเน้นการบูรณาการเนื้อหาให้สอดคล้องกับวิถีชีวิต ความแตกต่างระหว่างบุคคล และชุมชน สังคม 2) ส่งเสริมให้มีการเทียบโอนผลการเรียนจากการศึกษาในระบบ การศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย 3) ส่งเสริมให้ผู้เรียน ได้พัฒนาและเรียนรู้อย่างต่อเนื่องตลอดชีวิต โดยตระหนักว่าผู้เรียนมีความสำคัญ สามารถพัฒนาตนเองได้ตามธรรมชาติและเต็มศักยภาพ 4) ส่งเสริมให้ภาคีเครือข่ายมีส่วนร่วมในการจัดการศึกษา และผู้เรียนต้องผ่านเกณฑ์การจบหลักสูตร ดังนี้ 1) ผ่านการประเมินและได้รับผลการตัดสินการเรียนตามเกณฑ์ที่สถานศึกษากำหนดทั้ง 5 สาระการเรียนรู้ และได้ตามจานวนหน่วยกิตที่กำหนดตามโครงสร้างหลักสูตร 2) ผ่านกระบวนการประเมินกิจกรรมพัฒนาคุณภาพชีวิตไม่น้อยกว่า 200 ชั่วโมง 3) ผ่านกระบวนการประเมินคุณธรรม 4) เข้ารับการประเมินคุณภาพการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET)
จากผลการจัดการศึกษาตามหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ที่ผ่านมา พบว่านักศึกษาส่วนใหญ่ไม่จบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด 4 ภาคเรียน และจากการรายงานข้อมูลจานวนผู้เข้าสอบทางการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET) ในแต่ละภาคเรียน มีจานวนผู้เข้าสอบไม่ถึงร้อยละ 80 ซึ่งเป็นสาเหตุหนึ่งที่ทาให้นักศึกษาไม่จบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด จากสภาพปัญหาดังกล่าว




2
กศน.ตำบลบ้านค้อ ได้มีการปรับเปลี่ยนวิธีการปฏิบัติงานให้เป็นเชิงรุกเพื่อเข้าติดตามผู้เรียน โดยเฉพาะผู้เรียนที่คาดว่าจะจบหลักสูตรในแต่ละภาคเรียน ซึ่งมีผลปรากฏชัดเจนในภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561 คือนักศึกษา กศน.ตำบลบ้านค้อ ทั้งระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย มีจานวนผู้เข้าสอบ ทางการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET) คิดเป็นร้อยละ 100 ดังนั้น กศน.ตำบลบ้านค้อ จึงได้จัดทาแผนงาน/โครงการ และจัดกิจกรรม ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 256๒ เพื่อเป็นการรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ โดยใช้กิจกรรม และส่งผลต่อการจบหลักสูตรของผู้เรียนต่อไป
วัตถุประสงค์และเป้าหมายของการดาเนินงาน
วัตถุประสงค์
1. เพื่อรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ของนักศึกษาหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 กศน.ตำบลบ้านค้อ ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕
2. เพื่อส่งเสริมให้ผู้เรียนเรียนจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดภายในระยะเวลา 4 ภาคเรียน
เป้าหมาย
1. นักศึกษา กศน.ตำบลบ้านค้อ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย ที่คาดว่าจะจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ในภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256๒ เข้ารับการทดสอบทางการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET) ทุกคน
2. นักศึกษา กศน.ตำบลบ้านค้อ ระดับมัธยมศึกษาตอนต้น และระดับมัธยมศึกษาตอนปลาย จบหลักสูตรการศึกษานอกระบบระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551 ตามเกณฑ์ที่หลักสูตรกำหนดภายในระยะเวลา 4 ภาคเรียน เพิ่มมากขึ้น

วิธีการดำเนินงาน
กศน.ตำบลโพนสวรรค์ ได้วางแผนงาน/โครงการ และออกแบบกิจกรรมเพื่อรักษาระดับร้อยละ ผู้เข้าสอบทางการศึกษานอกระบบระดับชาติ (N-NET) ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕โดยมีวิธีการดาเนินงาน ดังนี้
แผนภูมิการดาเนินงาน : การพัฒนาการจัดกิจกรรมรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕
ปัจจัยนาเข้า
1. ศึกษาเป้าหมาย และเกณฑ์การจบหลักสูตรการศึกษานอกระบบ
ระดับการศึกษาขั้นพื้นฐาน พุทธศักราช 2551
2. ศึกษาสภาพปัญหา ความต้องการของกลุ่มเป้าหมาย
(นักศึกษาที่คาดว่าจะจบหลักสูตร ในภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา 2562)
กระบวนการ
1. วางแผนงาน /จัดทาโครงการพัฒนาการจัดกิจกรรม /ออกแบบกิจกรรม
2. จัดกิจกรรมตามโครงการ
- กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักศึกษา
- กิจกรรมแนะแนวการสอบ N-NET
- กิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น
- กิจกรรมแจกตารางสอบถึงมือนักศึกษาและผู้ปกครอง




ผลผลิต
ร้อยละผู้เข้าสอบ N-NETไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕
ผลลัพธ์
๑.     นักศึกษาจบหลักสูตรตามเกณฑ์เพิ่มมากขึ้น
ประเมินผล และสรุปรายงานผลการดาเนินงาน
ขั้นตอนการดาเนินงาน
ขั้นตอนที่ 1 เป็นการวางแผนการดาเนินงานโครงการ จัดทาโครงการ ออกแบบกิจกรรมรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ และเสนอผู้บริหารอนุมัติ
ขั้นตอนที่ 2 จัดกิจกรรมรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ โดยมีกิจกรรมหลักที่ต้องดาเนินการ ดังนี้
กิจกรรมที่ 1 กิจกรรมเยี่ยมบ้านนักศึกษา มีวิธีการดาเนินงานดังนี้
1) ครูกำหนดแผนการเยี่ยมบ้าน
2) ครูศึกษาข้อมูลเบื้องต้นเกี่ยวกับที่อยู่อาศัย ระยะทาง และข้อมูลพื้นฐานของครอบครัวผู้เรียน
3) วิเคราะห์ข้อมูลว่าสมาชิกในครอบครัวของนักศึกษาแต่ละคนมีใครบ้างที่สามารถให้ข้อมูลในการเยี่ยมบ้านได้
4) เตรียมความพร้อมของวัสดุ อุปกรณ์ เครื่องมือติดตามผู้เรียน โดยใช้แบบสัมภาษณ์ผู้เรียน/ผู้ปกครอง แบบสังเกต และประเด็นการสัมภาษณ์และการสนทนา
5) ออกเยี่ยมบ้านตามแผน (หากไม่พบผู้เรียน ผู้ปกครอง และคนในครอบครัว ให้สอบถามเพื่อนบ้านที่อยู่ข้างเคียง และจัดทาแผนออกไปเยี่ยมบ้านอีกครั้ง หรือประสานเพื่อนัดหมายกับผู้เรียนและผู้ปกครองก่อนล่วงหน้า)
6) สังเกตสภาพที่อยู่อาศัย พฤติกรรมของนักศึกษา และบุคคลในครอบครัว
7) พูดคุยสนทนา สัมภาษณ์ผู้เรียน ผู้ปกครอง และผู้ที่เกี่ยวข้อง
8) รวบรวมข้อมูลนักศึกษาและวิเคราะห์ข้อมูลผู้เรียนเป็นรายบุคคล หากมีปัญหาให้หาแนวทางในการช่วยเหลือดูแลผู้เรียนต่อไป พร้อมทั้งติดต่อผู้เรียนอย่างต่อเนื่อง และแจ้งให้มาร่วมกิจกรรมอยู่เสมอ
กิจกรรมที่ 2 กิจกรรมแนะแนวการสอบ N-NET
ครูจัดกิจกรรมแนะแนวการสอบ N-NET จานวน 2 ครั้ง ในเดือนมกราคม 1 ครั้ง และเดือนกุมภาพันธ์ 1 ครั้ง ก่อนถึงวันสอบ โดยมีเนื้อหาที่ต้องแนะแนว ดังนี้
ครั้งที่ 1 การสร้างความตระหนักถึงความสำคัญของการสอบ N-NET
- ครูบรรยายสร้างความรู้ความเข้าใจให้กับผู้เรียนถึงเหตุผลความจาเป็นในการเข้าสอบ N-NET และการขาดสอบมีผลกระทบต่อนักศึกษา ครู และสถานศึกษาอย่างไร
ครั้งที่ 2 การเตรียมความพร้อมและปฏิบัติตนในการเข้าสอบ N-NET
- ครูแจ้งวันสอบ รายวิชา ระยะเวลาในการสอบ และชี้แจงเกี่ยวกับการปฏิบัติตนในการเข้าสอบ N-NET ได้แก่ ระเบียบการสอบ การแต่งกาย วัสดุอุปกรณ์ที่ต้องนามาและใช้ในวันสอบ
- ครูให้ผู้เรียนฝึกการฝนกระดาษคาตอบ เพื่อให้มีความแม่นยา และลดความผิดพลาดในการฝนกระดาษคาตอบ
กิจกรรมที่ 3 กิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น
ครูจัดกิจกรรมสร้างการรับรู้ผ่านแอพพลิเคชั่น โดยแจ้งกำหนดการสอบ และการเตรียมความพร้อม ในการสอบเข้าสอบให้แก่นักศึกษาผ่านแอพพลิเคชั่น Line และ Messenger



กิจกรรมที่ 4 กิจกรรมแจกตารางสอบถึงมือนักศึกษาและผู้ปกครอง
- ครูแจกตารางสอบให้กับผู้เรียนและผู้ปกครองโดยตรงถึงบ้าน เพื่อติดตามผู้เรียนอีกครั้งว่าติดภารกิจหรือมีเหตุจาเป็นต้องทาอะไรในช่วงสอบ สามารถมาสอบในวันที่กำหนดได้หรือไม่ อย่างไร
- หากผู้เรียนมีภารกิจหรือมีเหตุจาเป็นที่จะทาให้เสี่ยงต่อการขาดสอบ ครูต้องหาวิธีการช่วยเหลือ ให้คาปรึกษา แนะนากับผู้เรียนและผู้ปกครอง จนทาให้มาสอบได้ตามกำหนด
ผลการดำเนินงาน
ภาคเรียนที่ 1 ปีการศึกษา 2561
ตารางแสดงข้อมูลผู้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)
กศน.ตำบลบ้านค้อ ประจาภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๑
ลำดับ
ระดับการศึกษา
ชื่อ สกุล
ผลการเข้ารับการทดสอบ
1
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายดาว  โพนดาแคบ
เข้าสอบ
ขาดสอบ
2
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายศุภวัฒน์ ไชยกา
P

3
มัธยมศึกษาตอนต้น
นายเจษฎา ลาชัย
P

4
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวณัฐนิชา  ปิลาตี
P

5
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวสุทธิดา ปีลาตี
P

คิดเป็นร้อยละ
100


ภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา 256
ตารางแสดงข้อมูลผู้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)
กศน.ตำบลบ้านค้อ ประจาภาคเรียนที่ ๑ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ลำดับ
ระดับการศึกษา
ชื่อ สกุล
ผลการเข้ารับการทดสอบ
1
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวอัจฉรา  อนุญาหงษ์
เข้าสอบ
ขาดสอบ
2
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวสิริญญา  อนุญาหงษ์
P

3
มัธยมศึกษาตอนต้น
นายสาธิต อนุญาหงษ์
P

4
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวโสรยา จำปา
P

5
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายไกรวิชญ์  ไชยพรม
P

6
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นางสาวมัสยา  ดวงภักดี
P

7
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายสมบัติ  โพธ์สอาด
P

คิดเป็นร้อยละ
๑๐๐









ภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา 256
ตารางแสดงข้อมูลผู้เข้ารับการทดสอบทางการศึกษาระดับชาติ ด้านการศึกษานอกระบบโรงเรียน (N-NET)
กศน.ตำบลบ้านค้อ ประจาภาคเรียนที่ ๒ ปีการศึกษา ๒๕๖๒

ลำดับ
ระดับการศึกษา
ชื่อ สกุล
ผลการเข้ารับการทดสอบ
1
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวสุปรานี  รัตนะ
P

2
มัธยมศึกษาตอนต้น
นายวศิษฐ์  โทรัตน์
P

3
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวพัชรี  คำธิศรี
P

4
มัธยมศึกษาตอนต้น
นางสาวสุดตา จำปา
ขาดสอบ

5
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายรุ่งทวี มัยดีนาจ
P

6
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นางสาวนงเยาว์ สาเคดา
ขาดสอบ

7
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายอารียา  จำปา
P

มัธยมศึกษาตอนปลาย
นางสาววนิดา อนุญาหงษ์
P

มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายณัฐพล จำปา
P

๑๐
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายสีหนาท ปานสูงเนิน
P

๑๑
มัธยมศึกษาตอนปลาย
นายวัชรินทร์ อนุญาหงษ์
P

คิดเป็นร้อยละ
 ๘๑.๘๑




สรุปผลการดาเนินงาน
จากผลการดาเนินงานปรากฏว่า ร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ของ กศน.ตำบลบ้านค้อ ในภาคเรียนที่ 2 ปีการศึกษา 256๒ มีจานวนผู้มีสิทธิ์สอบ ๑๑ คน และเข้ารับการทดสอบ จำนวน ๑๑ คน คิดเป็นร้อย ๘๑.๘๑     จึงถือว่าการดาเนินงานในครั้งนี้ประสบผลสำเร็จตามวัตถุประสงค์ที่วางไว















5

ประโยชน์ที่ได้รับ
ประโยชน์ต่อครู
1. ครูได้พัฒนาตนเองด้านทักษะในการออกแบบกิจกรรม เพื่อนาไปประยุกต์ใช้ในการพัฒนางาน พัฒนาร้อยละผู้เข้าสอบ และผลสัมฤทธิ์ปลายภาคเรียนของนักศึกษาต่อไป
2. ครูเกิดแนวคิดเชิงสร้างสรรค์ในการพัฒนากระบวนการปฏิบัติงาน และเกิดความภาคภูมิใจ ในตนเองที่สามารถปฏิบัติงานได้บรรลุเป้าหมาย
3. ครูและผู้เรียนเกิดความรักความเข้าใจกันมากขึ้น มีความเอื้ออาทรต่อกันมากขึ้น ทาให้เกิดความไว้วางใจ ผู้เรียนกล้าพูด กล้าแสดงออก และเข้ามาปรึกษาครูเมื่อเกิดปัญหาต่าง ๆ ทั้งด้านการศึกษา และด้านการประกอบอาชีพ
4. ครูได้รับความร่วมมือจากผู้เรียนและผู้ปกครองในการเข้าร่วมกิจกรรมของ กศน.ตำบล เพิ่มมากขึ้น
ประโยชน์ต่อผู้เรียน
1. ผู้เรียนได้รับความช่วยเหลือจากครู ในการให้คาปรึกษาแนะแนวด้านการศึกษา การทดสอบ N-NET ทาให้มีโอกาสสูงที่จะจบหลักสูตรตามเกณฑ์ที่กำหนด โดยใช้ระยะเวลาในการเรียนตลอดหลักสูตร 2 ปี 4 ภาคเรียน และสามารถนาวุฒิการศึกษาจากการจบหลักสูตรไปสมัครเข้าศึกษาต่อในระดับที่สูงขึ้น หรือสามารถนาวุฒิการศึกษาไปใช้ในการประกอบอาชีพในสถานประกอบการได้กับความต้องการ
2. ผู้เรียนมีความรู้สึกที่ดีต่อครู เห็นถึงความตั้งใจในการทางานของครู ทาให้เกิดความเข้าใจอันดีต่อกันระหว่างผู้เรียนกับครู
3. ผู้เรียนเกิดทักษะในการใช้เทคโนโลยี สามารถนาเทคโนโลยีมาประยุกต์ในการติดต่อสื่อสารกับครู เพื่อลดค่าใช้จ่าย และเกิดประโยชน์กับตนเองเพิ่มมากขึ้น
4. ผู้เรียนมีความรับผิดชอบ และความเสียสละ เห็นแก่ประโยชน์ของส่วนรวมมากขึ้น
ประโยชน์ต่อสถานศึกษา
1. สถานศึกษามีจานวนร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ในระดับที่สูงขึ้น ซึ่งแสดงให้เห็นถึงความพยายามในการดาเนินงาน และแก้ไขปัญหาด้านการศึกษา เพื่อมุ่งไปสู่คุณภาพตามมาตรฐานที่สถานศึกษากำหนด
2. สถานศึกษาได้ครูที่มีคุณภาพในการจัดการศึกษานอกระบบและการศึกษาตามอัธยาศัย
3. สถานศึกษาได้เทคนิค/วิธีการ ที่เป็นต้นแบบในการจัดกิจกรรมของครูภายในสถานศึกษา และสามารถเผยแพร่เพื่อให้ครูต่างอำเภอ ใช้เป็นแนวทางในการติดตามผู้เรียนให้เข้ารับการทดสอบมากยิ่งขึ้น

ประโยชน์ต่อชุมชน สังคม
1. ชุมชนได้บุคคลที่มีความรู้ความสามารถเพิ่มมากขึ้น
2. ผู้เรียนที่จบหลักสูตรไปถือเป็นบุคคลที่มีคุณค่าของชุมชน ซึ่งจะเป็นกาลังสาคัญในการช่วยพัฒนาให้ชุมชนมีความเข้มแข็ง และเจริญก้าวหน้าต่อไปได้
การเผยแพร่ผลงาน
กศน.ตำบลบ้านค้อ มีการเผยแพร่รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice) ชื่อผลงาน : การรักษาระดับร้อยละผู้เข้าสอบ N-NET ให้ได้ไม่น้อยกว่าร้อยละ ๗๕ โดยใช้กิจกรรม    ผ่านเฟซบุ๊คของ กศน.ตำบลบ้านค้อ  https://www.facebook.com/nfebankor เพื่อเป็นแนวทางให้กับครูผู้ที่สนใจนาไปปรับใช้ในการจัดการศึกษาให้เกิดประโยชน์สูงสุด
การเผยแพร่รายงานผลการปฏิบัติงานที่เป็นเลิศ (Best Practice)
ผ่านเฟซบุ๊คของ กศน.ตาบลบ้านค้อ /https://www.facebook.com/nfebankor

ไม่มีความคิดเห็น:

แสดงความคิดเห็น